วันศุกร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2556

การเข้าเรียน ครั้งที่ 16

การเข้าเรียน ครั้งที่ 16   วันที่  18  กันยายน 2556

การเรียนวันนี้

-อาจารย์ให้นักศึกษานำอุปกรณ์ที่เตรียมมา มาทำไข่ตุ๋น ให้นักศึกษาดูลักษณะวิธีการสอน กระบวรการทำไข่ตุ๋ม และดูหลักการทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการทำอาหารคือ ตอนแรกไข่เป็นสีเหลืองแต่ว่าเป็น พอนำไข่ไปใส่ในหม้อนึ่ง ความร้อนก็จะทำให้ไข่สุกกลายเป็นลักษณะนิ่มๆ ไม่เป็นน้ำเหมือนกับตอนแรก


ภาพบรรยากาศการทำ cooking 'การทำไข่ตุ๋น'


*วันนี้ลิงค์บล็อกอาจารย์ตฤนแล้วค่ะ*

การเข้าเรียน ครั้งที่ 15

การเข้าเรียน ครั้งที่ 15  วันที่  15 กันยายน 2556

การเรียนวันนี้

- วันนี้อาจารย์ตฤน มาสอนโดยให้แบ่งกลุ่ม กลุ่ม 7-8 คน ให้ช่วยกัยคิดหัวข้อการสอนเด็กทำอาหารว่าเป็นอย่างไร ควรจะเรียนรู้อะไรบ้าง และให้คิดว่าถ้ากลุ่มเราจะสอนเด็กทำอาหาร เราจะสอนการทำอะไร??

กลุ่มที่ 1 สอนการทำต้มจืด
กลุ่มที่ 2 สอนการทำไข่ตุ๋น
กลุ่มที่ 3 สอนการทำข้าวผัดอเมริกัน
กลุ่มที่ 4 สอนการทำไข่เจียว

เมื่อเสร็จให้ตัวแทนกลุ่มออกมานำเสนอ


ภาพบรรยากาศการระดมความคิด


ภาพบรรยากาศการระดมความคิด



อาจารย์ตฤนให้นักศึกษาลิงค์บล็อกของอาจารย์ด้วยค่ะ^^

การเข้าเรียน ครั้งที่ 14

การเข้าเรียน ครั้งที่ 14  วันที่ 11 กันยายน 2556


ไม่มีการเรียนการสอน แต่ให้นักศึกษามาเรียนชดเชย วันที่ 15 กันยายน 2556 เวลา 8.30 ที่ห้อง 234

การเข้าเรียน ครั้งที่ 13

การเข้าเรียน ครั้งที่ 13  วันที่ 4 กันยายน 2556

ไม่มีการเรียนการสอน ให้นักศึกษาไปสรุปผลการไปดูงาน

การเข้าเรียน ครั้งที่ 12

การเข้าเรียน ครั้งที่ 12  วันที่ 28 สิงหาคม 2556


ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจาไปศึกษาดูงานที่โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา และโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จ.บุรีรีมย์ ตั้งแต่วันที่ 27-28 สิงหาคม 2556




 เด็กๆ อนุบาล 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฎนครราสีมา






แวะไหว้ย่าโม เพื่อความเป็นศิริมงคล




บรรยากาศเมื่อถึงที่พักโดยสวัสดิภาพ






ตอนเช้าก่อนดูงานที่โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จ.บุรีรัมย์

การเข้าเรียน ครั้งที่ 11

การเข้าเรียน ครั้งที่ 11   วันที่   17 สิงหาคม 2556

ไม่มีการเรียนการสอน อาจารย์ให้นักศึกษาไปทำ ว่าวใบไม้

การเข้าเรียน ครั้งที่ 10

การเข้าเรียนครั้งที่ 10    วันที่  14 สิงหาคม 2556

การเรียนวันนี้

- อาจารย์พูดถึงเรื่องที่จะไปศึกษาดูงานที่ จ.บุรีรัมย์ และ จ.นครราชสีมา และให้นักศึกษาแบ่งหน้าที่ดังนี้

1.ฝ่ายประสานงาน จำนวน 7 คน

2.ฝ่ายประชาสัมพันธ์ 5 คน (กลุ่มของดิฉันรับผิดชอบ)

3.ฝ่ายประเมินผล 7 คน

4.ฝ่ายงบประมาณ 4 คน

5. ฝ่ายลงทะเบียน 6 คน

6.ฝ่ายสวัสดิการ 6 คน

7.ฝ่ายพิธีการ 6 คน

- ให้นักศึกษาที่ยังทำบล็อกไม่เรียบร้อย ให้กลับไปทำให้เรียบร้อย

การเข้าเรียน ครั้งที่ 9

การเข้าเรียนครั้งที่ 9   วันที่  7 สิงหาคม 2556

การเรียนวันนี้

- อาจารย์พูดถึงเรื่องที่จะพานักศึกษา เซกวันพุธ ไปศึกษาดูงานที่ จ.นครราชสีมา และ จ.บุรีรีมย์ ในวันที่ 27-28 สิงหาคมนี้ โดยจะไป 2 โรงเรียน คือ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา และ โรงเรียนลำปรายมาศพัฒนา
-อาจารย์มห้นักศึกษาไปค้าหาประวัติและวิธีการสอนของทั้ง 2 โรงเรียนว่าเป็นอย่างไร
-อาจารย์ให้นักศึกษามีการแบ่งหน้าที่ของตัวเองตามฝ่ายต่างๆ เช่น สวัสดิการ ประสานงาน ประชาสันพันธ์ เป็นต้น โดยทุกคนจะต้องมีหน้าที่และรับผิดชอบหน้าที่ของตัวเอง


การเข้าเรียน ครั้งที่ 8

การเข้าเรียน ครั้งที่ 8  วันที่  30 กรกฎาคม 2556

ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอยู่ในช่วงสอบปลายภาค

การเข้าเรียน ครั้งที่ 7

การเข้าเรียนครั้งที่ 7   วันที่ 24 กรกฎาคม 2556


การเรียนวันนี้

- อาจารย์ให้เรียนรู้ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
- การสอนแบบ Project Approact

(ตัวอย่างการสอน)

การเข้าเรียน ครั้งที่ 6

การเข้าเรียน ครั้งที่ 6  วันที่ 17 กรกฎาคม 2556

การเรียนวันนี้

ไม่มีการเรียนการสอน

- แต่อาจารย์ได้สั่งงานไว้ว่า ให้นักศึกษาค้นคว้า การทำสื่อวิทยาศาสตร์ 2 อย่าง คือ

1.ของเล่นตามมุม
2.สื่อที่เล่นร่วมกันได้

แล้วให้นักศึกษาโพสขึ้นบล็อกของตัวเองโดยไม่ให้ซ้ำกับของเพื่อน 


ของเล่นตามมุม
'เลี้ยงลูกด้วยบอล' (กิจกรรมที่ 2)


วัสดุ-อุปกรณ์
1.หลอดดูดน้ำ
2.กรรไกร
3.กระดาษฟรอยด์

วิธีทำ
1.นำหลอกดูดน้ำที่มีลักษณะงอตรงส่วนที่ดูด มาตัดที่ปลายหลอดให้เป็นริ้วๆขนาด 2 มิลลิเมตร
2.จับส่วนที่ตัดกดลง ให้มีการงอเล็กน้อยเพื่อรองรับขนาดของลูกบอล
3.นำกระดาษฟรอยด์มาปั้นให้เป็นก้อนกลมๆ กดเบาๆเพื่อให้เป็นรูปทรงแต่อย่ากดแรงอาจจะเสียรูปและมีน้ำหนักมากเกินไป

วิธีการเล่น
      นำหลอดมางอตามลักษณะและกระดาษฟรอยด์มาวางที่ปลายหลอดด้วยที่เราตัดไว้แล้ว จากนั้นใช้ปากคาบเอาไว้แล้วค่อยๆเป่าลมไปทีหลอดเบาๆ ให้ลูกบอลลอยขึ้นเล็ก ส่ายหัวไปทางซ้ายหรือขวาช้าๆ ไปมาสลับกัน

หลักการที่สอดคล้องกับวิทยาศาสตร์
      อากาศเป็นสิ่งที่มีตัวตน มีน้ำหนัก ต้องการที่อยู่ และสัมผัสได้ น้ำหนักของอากาศมีแรงกดหรือแรงดัน  อนุภาคของอากาศ เคลื่อนที่ไปมาได้อย่างอิสระ และตลอดเวลาในทุกทิศทาง โดยจะเคลื่อนที่ชนกันเองและชนกับวัตถุต่าง ๆ ที่ล้อมรอบ ทำให้เกิดแรงดัน 



.................................................................

สื่อที่เล่นร่วมกัน
'ลูกข่างหรรษา'



วัสดุ-อุปกรณ์
1.กระดาษลังที่เหลือใช้
2กระดาษ A4
3.สีเมจิก
4.คัทเติลบัท
5.กาว
6.คัตเตอร์

วิธีทำ
1.นำกระดาษลังมาตัดให้เป็นรูปวงกลมกว้างประมาน 10 เซนติเมตร ทั้งหมด 3-5 ชิ้นหรือแล้วแต่ชอบ
2.นำกระดาษ A4 มาแปะทับแล้วตัดให้เท่ากัน
3.ใช้สีเมจิกมาระบายสี โดยให้แบ่งครึ่งใช้ 2 สีต่อ 1 อัน
4.นำคัทเตอร์มาเจาะรูให้มีขนาดพอที่จะใส่คัทเติลบัทได้แล้วใช้กาวทาเพื่อให้ติดสนิท

วิธีการเล่น
      นำลูกข่างมาตั้งแล้วหมุนไปทางซ้ายหรือขวาก็ได้ เมื่อลูกข่างหมุนให้สังเกตเมื่อหมนุนแล้วลูกข่างจะมีสีที่สลับกันไปเพราะ ในตัวลูกจะมี 2 สีเมื่อมีการขยับเขยื่อนจะทำให้สีที่เราเห็นผสมกันจนกลายเป็นสีอื่น

หลักการที่สอดคล้องกับสิทยาศาสตร์
แรงที่กระทำต่อเทหวัตถุในขณะที่เทหวัตถุนั้นเคลื่อนที่เป็นทางวงกลม แรงนี้มีแนวทิศออกจากจุดศูนย์กลางของทางวงกลมนั้นและมีขนาดเท่ากับแรงสู่ศูนย์กลาง

การเข้าเรียน ครั้งที่ 5

การเข้าเรียน ครั้งที่ 5    วันที่ 10 กรกรฎาคม 2556

การเรียนวันนี้

- นักศึกษาออกมานำเสนอของเล่นที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์


เรือพลังแรงดันน้ำ



วัสดุ-อุปกรณ์1.จานโฟม2.ถ้วยโฟม3.แก้วกระดาษ4.คัตเตอร์5.หลอดดูดน้ำ6.กาว7.เทปกาว

วิธีทำ
1.นำด้านก้นแก้วกระดาษมาวัดกับจานโฟมและถ้วยให้มีขนาดเท่ากัน2.เมื่อวัดแล้วให้ใช้คัตเตอร์ตัดตามรอยของทั้ง จานโฟมและถ้วยโฟม3.นำคัตเตอร์มาเจาะรูที่ส่วนท้ายของแก้วทั้ง 2 ข้างให้มีขนาดที่เท่าและตรงกัน4.นำแก้ว จานโฟม ถ้วยโฟม มาประกอบกัน5.นำหลอดใส่เข้าไปในรูที่เจาะแล้วทากาวให้ติดสนิทกัน6.ใช้เทปกาวพันทั้ง 3 ชิ้นให้ติดกันก่อนทำไปเล่น

วิธีการเล่น
    นำเรือพลังแรงดันน้ำ ไปวางลงบนพิวน้ำแล้วตักน้ำใส่ลงในแก้ว เรือจะค่อยๆแล่นออกไปจากแรงดดันของน้ำที่อยู่ภายในแก้วเมื่อน้ำถูกดันออกมาจนหมดเรือก็จะหยุด ถ้าหากจะให้เรือเดินต่อก็ให้ตักน้ำใส่ลงไปในแก้วตามต้องการ

หลักการที่สอดคล้องกับวิทยาศาสตร์
    แรงดัน เป็นแรงที่มาจากการกระทำของแรงในพื้นที่ที่มีต่อการวัดขนาดของแรงที่ออกมา แรงดันเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ความดัน ที่เราพบบ่อยได้แก่ ความดันอากาศและความดันน้ำ ความดันทำให้เกิดแรงลอยตัวในของเหลว มีผลต่อการจม การลอยตัวของวัตถุ


*ในการนำเสนอวันนี้มีของเพื่อนบางคนที่นำเสนอมาแต่ยังไม่ถูก อาจารย์ให้กลับไปค้นหามาใหม่ และให้เก็บงานวันนี้ไปใช้ในหัวข้อการทดลองหรือของเล่นตามมุมแทน*

การเข้าเรียน ครั้งที่ 4

การเข้าเรียนครั้งที่ 4     วันที่  3 กรกฎาคม 2556

การเรียนวันนี้

- ให้นักศึกษาดู VDO เกี่ยวกับการทดลองวิทยาศาสตร์ เรื่อง มหัศจรรย์ของน้ำ
และให้สรุปและจับใจความสำคัญของเรื่องต่างๆ เช่น น้ำมีอยู่ที่ไหนบ้าง มีความสำคัญอย่างไร คุุณสมบัติของน้ำ การเกิดฝน การเปลี่ยนแปลงของน้ำ และตัวอย่างการทดลองดังนี้



1.ตกปลาน้ำแข็ง 
อุปกรณ์ 1.น้ำแข็ง 2.ผ้า 3.เกลือ
วิธีการทดลอง
1.นำเกลือมาโรยไว้ที่ผ้าทิ้งไว้สักครู่
2.นำผ้าไปวางบนน้ำแข็ง ทิ้งไว้เว็กน้อยแล้วยกผ้าขึ้น
*จากการทดลองจะเห็นว่า ผ้าจะดูดน้ำแข็งติดขึ้นมาด้วย เนื่องจากน้ำแข็งและเกลือจะทำปฏิกิริยากันทำให้เกลือดูดซับน้ำจากน้ำแข็งที่ละลายได้นั้นเอง*

2.แรงตึงผิว
อุปกรณ์ 1.เข็มเย็บผ้า 2.แก้วน้ำ
วิธีการทดลอง
1.น้ำน้ำมาใส่แก้วที่เตรียมไว้ให้เต็ม
2.นำเข็มเย็บผ้ามาวางลงบนน้ำที่เทจนเต็วแก้ว
*จากการทดลองให้สังเกตที่เข็มจะเห็นว่า เข็มเย็บผ้านั้นจะไม่จมลงไปในแก้วน้ำ เนื่องจากแรงตึงผิวของน้ำในแก้วที่มีปริมาณมาก แต่เข็มมีน้ำหนักเพียงน้อยจึงทำให้ผิวหน้าของน้ำนั้นรองรับน้ำหนักของเข็มได้นั้นเอง*

สิ่งที่ได้เรียนรู้
- น้ำมีความสำคัญต่อโลกและสิ่งมีชีวิต และน้ำเป็นส่วนประกอบของสิ่งๆต่าง
-การหาองค์ประกอบของการทดลอง ความเป็นไปได้ เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ที่เด็กต้องเรียนรู้

การเข้าเรียน ครั้งที่ 3

การเข้าเรียนครั้งที่ 3 วันที่ 26 มิถุนายน 2556

การเรียนวันนี้

อาจารย์ให้ดูวีดีโอ เรื่อง ความลับของแสง
ให้นักศึกษาจดบันทึกและสรุป เกี่ยวกับความรู้ในเรื่องนี้

การเข้าเรียน ครั้งที่ 2

การเข้าเรียน ครั้งที่ 2

การเรียนวันนี้

1.อาจารย์ให้จับกลุ่ม 6 คนและสรุปเนื้อหาตามความเข้าใจตัวเอง ดังนี้
 - ความหมายของวิทยาศาสตร์
 - ความสำคัญขอวิทยาศาสตร์
 - พัฒนาการทางสติปัญญา
 - การเรียนรู้
 - แนวคิดพื้นฐานของวิทยาศาสตร์
 - กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และผลผลิต

2. เมื่อแต่ละกลุ่มสรุปเสร็จแล้ว ให้ตัวแทนของกลุ่มเวียนกันไปศึกษาเนื้อหาของกลุ่มอื่นๆ แล้วมาบวกเป็นเนื้อหาโดยรวม

สิ่งที่ได้เรียนรู้วันนี้
- หมายความทางวิทยาศาสตร์ที่แปลกใหม่จากเพื่อนคนอื่นๆ มารวมกันของกลุ่มแล้ว ก็มีความลึกซึ้งและแง่คิดต่างที่เพิ่มมากขึ้น
- การนำเสนองานของเพื่อนบางกลุ่มอาจจะมีติดขัดบ้างแต่ก็สามารถ นำไปปรุบปรุงและแก้ไขกับวิชาอื่นๆได้ เพื่อเป็นการเรียนรู้ทักษะ